วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

แต่งภาพกราฟฟิกแบบแสงสีสวยๆในแบบฉบับ iFreePhotoshop Posted by iFree



วันนี้ฟรีจะมาสอน Photoshop เกี่ยวกับการแต่งรูปแบบกราฟฟิก (ส่วนตัวเรียกไม่ค่อยถูก -*- ว่ามันเป็นแนวประมาณไหนสำหรับบทความนี้) แต่จะเป็นลักษณะดังตัวอย่างคือมีแสงออร่าสวยๆที่ด้านหลังของนายแบบซึ่งเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพนี้อย่างเต็มๆ 100%
วันนี้ขอโทษสำหรับผู้ที่รอคอย (หรือไม่มีไม่รู้ ฮา ^^) พอดีไปกินหมูกระทะมากลับซะดึกเลย อืมๆ ไม่นอกเรื่องละเข้าสู่ขั้นตอนการสอนเลยดีกว่า
หมายเหตุ: สำหรับบทความสอน Photoshop นี้ เพื่อนๆควรจะพอมีพื้นฐาน Photoshop แล้วไม่งั้นอาจจะงงได้ในบางขั้นตอน



ขั้นตอนที่ 1 สร้างพื้นหลังไล่สีแบบวงกลม
ในที่นี้ฟรีเปิดรูปหนุ่มหล่อคนนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นนายแบบโดยมีขนาดของภาพ 600 x 480 
 


  • สร้างหน้ากระดาษขนาด 600 x 480 ขึ้นมา
  • ปรับ Foreground เป็นสีเทาๆ โดยสีที่ฟรีใช้คือ #676767
  • ปรับ Background เป็นสีดำเกือบสนิท โดยสีที่ฟรีใช้คือ #0e0e0e
  • เลือก Gradient Tool ปรับการไล่สีเป็นแบบวงกลม (Radial) 
  • ไล่สีจากบริเวณซ้ายล่างของภาพขึ้นมาประมาณลูกศรในภาพประกอบ




ขั้นตอนที่ 2 เริ่มใส่สีสันให้ Background
  • เลือกเครื่องมือ Brush ปรับ Hardness 0% ปรับขนาดใหญ่พอเหมาะ ในที่นี้ฟรีปรับ 150 px
  • สร้าง Layer ขึ้นมาใหม่ โดยฟรีตั้งชื่อ Layer ว่า "ColorBG"
  • นำ Brush ระบายลงประมาณภาพประกอบ



  • ปรับโหมดของ Layer "ColorBG" เป็น Overlay





ขั้นตอนที่ 3 เพิ่มแสงลงไปใน Background ของเรา
  • สร้าง Layer ขึ้นมาใหม่ชื่อ Layer "Light"
  • ใช้ Brush ขนาดประมาณ 30px , Hardness 0%
  • เลือกสีขาว ระบายประมาณ 4 เส้นดังรูป


  • ไปที่ Filter > Blur > Radial Blur เลือก Spin ปรับค่า Amount ประมาณ 50-70 ในที่นี้ฟรีเลือก 60 แล้วกด OK
  • เปลี่ยนโหมด Layer "Light" เป็น Overlay
  • ใช้ Move Tool เลื่อน และหมุนโดยการกด Ctrl+T เพื่อจัดแสงให้อยู่ในตำแหน่งตามต้องการ


ขั้นตอนที่ 4 นำนายแบบมาใส่ใน Background ของเราและตกแต่ง
ไปที่รูปนายแบบและใช้ Lasso Tool ทำการ Selection จากนั้นใช้ Move Tool ลากมาวางในหน้ากระดาษ Background ของเราที่สร้างขึ้นมา
(สำหรับวิธีใช้ Lasso Tool ให้ดูที่บทความตัดต่อภาพ Photoshop ด้วย Lasso Tool)

Tip: ถ้าภาพที่ตัดมาเป็นภาพสีให้ทำการกด Ctrl+Shift+U เพื่อทำให้เป็นภาพขาวดำก่อน


ฟรีต้องการให้ส่วนที่อยู่ด้านขวาของนายแบบมืด ฟรีจึงใช้ Burn Tool ระบายลงไป
ส่วนที่ไฮไลท์สีเขียวๆ คือส่วนที่ฟรีต้องการระบายลงไป

ผลที่ได้คือภาพจะดูมีลักษณะแสงส่องมาจากด้านซ้ายทำให้ด้านขวาดูมืดลง


ขั้นตอนที่ 5 ใส่ควันให้กับ Background
  • ให้เพื่อนๆโหลด Brush Smoke ก่อน Download คลิกที่นี่ 
  • ส่วนใครที่ยังไม่รู้วิธีการลง Brush ให้กลับไปดูที่บทความแหล่ง Download Brush และวิธีนำ Brush ที่ Download มาใช้ใน Photoshop
  • สร้าง Layer ขึ้นมาใหม่ ฟรีตั้งชื่อ Layer "SmokeRED" (ให้ Layer นี้อยู่ใต้ Layer "Man")
  • จากนั้นใช้ Brush Smoke สักอัน ปรับขนาดให้พอเหมาะ เลือกสีแดงและระบายลงไป
  • กด Ctrl+T แล้วหมุนรูปและย้ายควันที่ระบายไปอยู่ในที่เหมาะสม


สังเกตว่าด้านขวาของควันจะเป็นรอยตัดตรงให้เลือกยางลบแล้วเซ็ตค่า
  • Hardness 0%
  • Opacity 70%
  • Flow 70%
  • ขนาดประมาณ 95 px
จากนั้นลบบริเวณขอบๆเพื่อให้ควันนั้นดูฟุ้งอย่างเป็นธรรมชาติ
หมายเหตุ: ถ้าเพื่อนๆใช้ Mask ช่วยในการลบควันได้ก็ดีเพราะจะทำให้สามารถแก้ไขได้ง่าย วิธีใช้ก็จะเป็นลักษณะเดียวกันกับบทความเทคนิคการรวมภาพให้กลมกลืนกัน
Note: แต่รูปนี้ฟรีใช้ยางลบ ลบปลายๆควันออก ขึ้นอยู่กับความถนัดของบุคคล

Add a layer style ให้ Layer "SmokeRED" ด้วยการดับเบิ้ลคลิกที่ Layer "SmokeRED" หรือเลือกไอคอนตัว F ใต้หน้าต่าง Layer จากนั้นเลือกที่ Outer Glow
  • ปรับค่า Blend Mode เป็น Linear Dodge
  • Opacity 30%
  • สีแดง
  • Size : 54 px


ควันก็จะดูสว่างขึ้นด้วยแสงสีแดง

ใส่ควันลงไปอีกอันนึงโดยใช้วิธีเดิมทุกอย่างในขั้นตอนนี้ (แต่ควันอันนี้ฟรีปรับ Layer เป็น Mode "Soft Light")

เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นกับภาพกราฟฟิกแบบแสงสีสวยๆในแบบฉบับ iFreePhotoshop ซึ่งอย่างว่าภาพแนวนี้มันเป็นภาพของเรา เราทำเองเพราะฉะนั้นการตกแต่งที่นอกเหนือจากนี้ก็สามารถทำได้ เพื่อนๆสามารถอ่านบทความนี้เพื่อเป็นกรณีศึกษาได้ แต่ไม่จำเป็นต้องทำตามที่ฟรีสอนเสมอไป ลองคิดนอกกรอบใ่ส่ไอเดียเข้าไปในภาพ ภาพจะดูมีพลังมากกว่าเดิม


ที่มาของบทความ: http://ifreephotoshop.blogspot.com/2010/11/ifreephotoshop.html#ixzz26JI9I8ML

คอมพิวเตอร์กราฟิก


 
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์กราฟิก
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ มนุษย์ยังไม่มีภาษาพูด วิธีหนึ่งที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน คือการใช้รูปภาพ โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ เช่นหิน ความร้อน เลือดและกระดูกสัตว์มาช่วยในการวาดภาพ ตัวอย่างเช่น ภาพเขียนตามฝาผนังถ้ำ ในประเทศไทยก็มีภาพเขียนเช่นนี้ เช่นที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี งานกราฟิกจึงถือได้ว่าเกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

กราฟิก (graphic) มาจากภาษากรีกที่ว่า Graphikos หมายถึง การวาดเขียนและ เขียนภาพ Graphein หมายถึง การเขียน มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้มากมาย ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี  กราฟิก หมายถึงการสื่อความหมายด้วยการใช้ภาพหรือการใช้เส้น
บทบาทและความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก

งานกราฟิกสามารถสื่อความหมายระหว่างผู้ออกแบบกับผู้ชมได้โดยตรงเนื่องจากใช้ภาพเป็นหลักในการสื่อสาร ทำให้เข้าใจได้ง่าย ถ้าผู้ออกแบบใส่จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ งานกราฟิกชิ้นนั้นก็จะยิ่งมีความน่าสนใจ และมีคุณค่าทางด้านศิลปะอีกด้วย แต่ถ้าภาพที่ใช้สื่อความหมายไม่ชัดเจน ผู้รับก็ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้อง
ลองทดสอบความเข้าใจจากภาพ ทั้งสองนี้ ถ้าเห็นภาพเพียงบางส่วนจะเดาออกหรือไม่ว่าเป็นภาพอะไร นำเมาส์ไปคลิกเลือกบนช่อง สี่เหลี่ยม แล้วลองเดาคำตอบจากภาพที่เห็น ว่าจะตอบได้ถูกต้อง ต้องคลิกเลือกทั้งหมดกี่ช่อง
 (อย่าแอบดูเฉลยล่ะ)

ความสำคัญของคอมพิวเตอร์กราฟิก

1. งานกราฟิกทำให้การสื่อสารเข้าใจได้ง่ายเนื่องจากใช้รูปภาพในการสื่อความหมายจึงทำให้เห็นรายละเอียด เนื้อหาที่ต้องการนำเสนอได้ชัดเจนกว่าการใช้ข้อความ หรือตัวอักษรอธิบายเพียงอย่างเดียว และงานกราฟิกยังทำให้การสื่อความหมายเป็นไปอย่างรวดเร็ว แม้จะสื่อสารกันคนละภาษา หรือมีความแตกต่างกัน ก็สามารถเข้าใจตรงกันได้
2. งานกราฟิกมีความน่าสนใจเนื่องจากมีการใช้ภาพ และสีในการนำเสนอ จึงทำให้งานดูสะดุดตา น่าประทับใจ
3. ส่งเสริมงานด้านศิลปะ งานกราฟิกที่ดึงดูดใจ ต้องใช้ทั้งความคิดสร้างสรรค์และ ความรู้ทางด้านศิลปะ เพื่อที่จะสื่อความหมายและอารมณ์ระหว่าง ผู้ออกแบบและผู้ชม
4. พัฒนาความก้าวหน้าทางธุรกิจ ส่งเสริมการขาย งานกราฟิก ทำให้ผลิตภัณฑ์ มีจุดเด่น และเข้าใจข้อมูลของสินค้าได้เป็นอย่างดี
งานกราฟิกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. การประชาสัมพันธ์ โฆษณา ประกาศต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ แผ่นป้ายโฆษณาทั้งขนาดใหญ่และเล็ก
2. ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นฉลากสินค้า หน้าปกหนังสือ นิตยสาร
3. งานด้านโทรทัศน์และภาพยนตร์ เช่นการทำการการ์ตูน การใส่เทคนิคพิเศษให้กับภาพยนตร์
4. ด้านการการศึกษา เช่นทำสื่อการเรียนการสอน ผู้เรียนจะมีความสนใจและเข้าใจในเนื้อหาได้มากยิ่งขึ้น
เราสามารถพบเห็นงานกราฟิกได้มากมายในชีวิตประจำวันของเรา เนื่องจากงานกราฟิกมีประโยชน์
ดังที่กล่าวไปแล้ว และยิ่งในปัจจุบัน การสื่อสารข้อมูลไม่จำกัดอยู่เพียงแค่เอกสาร หรือในหน้ากระดาษ สื่อสิ่งพิมพ์เท่านั้น เราสามารถติดต่อสื่อสารกันโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากมีความสะดวก และรวดเร็ว จึงทำให้เราพบเห็นงานกราฟิก ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบอื่นๆ ด้วย เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิสก์ (e-book) ภาพถ่ายดิจิทัล เว็บไซต์ต่าง ๆ หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ในปัจจุบัน เราใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อ การพิมพ์งาน เล่นเกมส์ เก็บข้อมูลต่าง ๆ โดยผู้ใช้สั่งงานต่างๆ ผ่านภาพกราฟิก จึงทำให้คอมพิวเตอร์ใช้งานง่าย และแพร่หลายอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก

คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสร้าง จัดการ ทำงานกราฟิก เช่นการนำข้อมูล อาจเป็น ภาพ ข้อความ หรือ เสียง แล้วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตกแต่ง ตัดต่อ แก้ไข ประมวลผล เพื่อให้ได้งานกราฟิก ตามต้องการ

ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟิก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักดังนี้

1. ฮาร์ดแวร์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ
2. ซอต์ฟแวร์ ได้แก่ โปรแกรมที่สั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานกราฟิกตามที่ผู้ใช้ต้องการซึ่งมีทั้ง
เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านกราฟิกที่มีใช้เป็นจำนวนมากเช่น อะโดบี โฟโต้ชอฟ(AdobePhotoshop) ไฟร์เวิร์ค(firework) อิลัสเตรเตอร์(Illastrator) โปรแกรมที่เราเขียนขึ้นเองด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาเบซิค เป็นต้น
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำหรับงานกราฟิก
เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งประกอบด้วย
  • หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU )
  • แผงวงจรหลัก(main board)
  • หน่วยความจำหลัก(main memory) ได้แก่ แรม(Random Access Memory :RAM) และหน่วยความจำสำรอง (secondary storage) ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์(hard disk) และแผ่นบันทึก (floppy disk)
  • การ์ดแสดงผล (display card)
จอภาพ ทำหน้าที่ แสดงผลลัพธ์(output)จากการประมวลผล แสดงให้ผู้ใช้ได้เห็นในรูปของ ตัวอักษร ภาพ กราฟิก
  • จอภาพที่ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
    • จอภาพ CRT (Cathode-Ray tube) จอภาพจะมีลักษณะใหญ่ ก้นยาวคล้ายโทรทัศน์
    • จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display จอภาพมีลักษณะแบน บาง
  • แผงแป้นอักขระ (keyboard)
  • เมาส์(mouse)
อุปกรณ์ต่อพ่วง
  • สแกนเนอร์ (Scanner) ให้อ่าน ข้อมูลหรือภาพถ่ายบนเอกสารเข้าไปไปเครื่อง ซึ่งข้อมูลจะถูก
    แปลงเป็นจุดเล็ก ๆ ในรูปแบบไฟล์ดิจิตอลไปเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์กล้องดิจิตอล (Digital Camera) กล้องดิจิตอลสามารถถ่ายรูปภาพให้อยู่ในไฟล์ดิจิตอล ซึ่งนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง และภาพที่ได้ก็มีความละเอียดสูง ถึงล้านพิกเซลขึ้นไป
  • ปากกาแสง (Light Pen) เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลทางหน้าจอภาพโดยใช้ปากกาแตะไปบนจอภาพในตำแหน่งที่ต้องการ
  • กระดานกราฟิก (graphic tablet) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการวาดภาพ โดยผู้ใช้สามารถวาดภาพบนคอมพิวเตอร์ได้เหมือนกับวาดบนกระดาษ
เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ในการแสดงผล ทั้งตัวอักษร และรูปภาพ ลงบนกระดาษ มีหลายประเภทด้วยกันคือ
  • ดอตเมทริกซ์พรินเตอร์ (dot matrix printer) ใช้หัวเข็มกระแทกลงบนแผ่นหมึกคาร์บอน ทำให้เกิดรอยหมึกเป็นข้อความ และภาพ เป็นพรินเตอร์ที่มีความละเอียดต่ำ ราคาไม่แพง แต่พิมพ์ช้า และมีเสียงดัง
  • อิงก์เจ็ตพรินเตอร์ (inkjet printer) ใช้หลักการฉีดพ่นหมึกทำให้เกิดจุดสีเล็กๆ เรียงต่อกันจนเป็นภาพ นิยมใช้มากในปัจจุบันเนื่องจากมีราคาถูก และคุณภาพของงานพิมพ์ดี สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ มีความเร็วในการพิมพ์ปานกลาง
  • เลเซอร์พรินเตอร์ (laser printer) ใช้แสงเลเซอร์เพื่อจัดเรียงผงหมึกให้เกิดเป็นภาพและใช้ความร้อนเพื่อให้ผงหมึกติดกับกระดาษ ทำให้มีความละเอียดสูง พิพม์งานรวดเร็ว คุณภาพงานดี แต่ราคาแพง
  • พล็อตเตอร์ (plotter) จะแสดงภาพโดยใช้ปากกาเป็นตัววาดภาพ นิยมใช้กับการด้านวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม เป็นการเขียนแบบโครงสร้างอาคาร
                          
ภาพบนคอมพิวเตอร์เกิดได้อย่างไร

รูปภาพที่แสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลายๆจุดมาประกอบกันขึ้นเป็นภาพ โดยแต่ละจุดจะแสดงค่าสีแตกต่างกัน หรือเหมือนกันขึ้นอยู่กับชนิดของรูปภาพ จุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ เรียกว่า พิกเซล ภาพที่สามารถมองเห็นได้ว่าเป็นภาพอะไร เกิดจากพิกเซลขนาดเล็กจำนวนมาก เรียงตัวกันจนอัดแน่นอยู่ในพื้นที่ของภาพจนแทบจะมองไม่เห็นนอกจากจะขยายภาพขึ้นมามาก ๆ จึงจะสังเกตเห็นได้

ประเภทของไฟล์กราฟิก

ภาพที่แสดงผลในคอมพิวเตอร์นั้น มี 2 ลักษณะ คือ
1. ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เมื่อมีการย่อ - ขยาย หรือแก้ไขภาพ การแสดงผลของภาพ จะยังคงความละเอียดและคมชัดเหมือนเดิม ตัวอย่างไฟล์ภาพแบบเวกเตอร์ เช่น .AI .PLT .WMF


2. ภาพราสเตอร์ (Raster) หรือเรียกว่าภาพบิทแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการแสดงผลจากจุดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล โดยนำแต่ละจุดมาเรียงต่อกันเป็นภาพ ทำให้ภาพมีความคมชัดสมจริง แต่เมื่อมีการแก้ไข หรือย่อ – ขยายรูป จะทำให้ความคมชัด ของภาพลดลง ตัวอย่างไฟล์ภาพแบบราสเตอร์ เช่น .gif .jpg .tif
การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์กราฟิก

การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์กราฟิกสามารถจำแนกตามลักษณะของงาน ดังนี้

การออกแบบ คอมพิวเตอร์กราฟิกในงานออกแบบ หรือที่เรียกว่า CAD (Computer Aided Design) ผู้ออกแบบสามารถนำสัญลักษณ์ที่โปรแกรมมีไว้มาประกอบกันเป็นวงจร เพื่อแก้ไข เพิ่มเติม ได้สะดวก ทำให้วิศวกรสามารถมองเห็นงานที่ออกแบบ ในรูปแบบจำลอง ก่อนที่สร้างจริง ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

 
การแสดงผลข้อมูล การใช้โปรแกรม เพื่อสร้าง ภาพเช่นแผนภูมิ สถิติ แผนที่ ทำให้การสื่อสารดีกว่าการใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือข้อความ โปรแกรมสร้างกราฟยังสามารถสร้างกราฟได้หลายแบบ ทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจเป็นไปได้รวดเร็ว และง่ายกว่าเดิม ภาพถ่ายทางการแพทย์ แสดงให้เห็นโครงสร้างภายในร่างกายของผู้ป่วย ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
         
การจำลองการทำงาน การนำคอมพิวเตอร์ มาจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญก่อนปฏิบัติกับอุปกรณ์จริง เช่นการหัดขับเครื่องบิน ของนักบิน หรือหัดขับรถด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เกมคอมพิวเตอร์ก็นำงานกราฟิกมาใช้เพื่อให้เกมดูเร้าใจ สมจริง โดยเฉพาะเกมที่มีการต่อสู้ผจญภัย การจำลองการทำงานในวงการภาพยนตร์ ยังนำคอมพิวเตอร์มาใช้สร้างฉาก ต่าง ๆ ให้ดูสมจริง หรือสร้างฉากที่ไม่ได้มีอยู่จริง ให้มีขึ้น หรือเพิ่มเทคนิคพิเศษ ต่าง ๆ


การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ การจะทำให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้อย่างง่ายดาย ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ ต่าง ๆ ต้องใช้ภาพกราฟิกในการสั่งงาน เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำคำสั่ง และพิพม์คำสั่งต่าง ๆ รูปแบบติดต่อผู้ใช้นี้เรียกว่าจียูไอ เป็นการตอบสนองระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์

วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

สร้างแก้วใส ด้วย3dmax

สร้าง แก้วใส ได้ไม่ยาก ด้วย 3dmax

     วันนี้ขยันหน่อย หลังจากคิดอยู่นานว่า จะสอนอะไรดีที่ไม่ยากมากและไม่ง่ายจนเกินไป นั่นก็คือ สร้างแก้วใสๆ กันดีกว่า จะเป็นแก้วทรงกระบอกธรรมดาๆ ก็กะไร อยู่ เอาเป็นแก้วไวน์ อะไรประมาณนี้ น่าจะดูหรูมีราคาและน่าที่จะมาทำเป็น Workshop มากกว่า จริงไหมครับ ติต่างว่าจริง!
วันนี้เราจะได้รู้การสร้าง Model แก้วด้วยคำสั่ง Lathe แบบว่ากดปุ่มนี้ทีเดียว งานโมเดลแก้วเราเกือบจะเสร็จ 100 % เลยละ เหลือก็เพียงตกแต่งรายละเอียดเล็กน้อย ต่อด้วยสร้างพื้นผิวให้เป็นแก้ว เออ.... น่าสนใจมั๊ย ลองทำตามกันดีว่าครับ เริ่มเลย

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิธีการทำแก้ว โปรเดสท็อป

การออกแบบภาชนะรูปแก้


การปรับเปลี่ยนรูปทรงด้วยวิธีการหมุนรอบแกน คือ การออกแบบโครงร่างรูปทรง แล้วเลือกแกนใดแกนหนึ่ง เป็นแกนหมุน หลังจากนั้น ใช้เครื่องมือปรับเปลี่ยนรูปทรงแบบหมุนรอบแกน 360 องศา ทำให้เกิดรูปทรงที่ต้องการ

จุดประสงค์การเรียนรู้


1. ออกแบบภาชนะทรงแก้ว ได้อย่างชำนาญ

ขั้นตอนการออกแบบ

1. คลิกเมาส์ที่ (New Design ) เพื่อออกแบบชิ้นงานใหม่
2
. ใช้มุมมองแบบ View Onto Workplane เพื่อความสะดวกในการวาดโครงร่าง
3. ใช้เครื่องมือเส้นตรงและเส้นโค้ง หรือเส้นดัด ประกอบกัน ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออกจะเกิดสีเติมบนพื้นที่ (fill) 4. คลิกเลือกด้านที่ต้องการเป็นแกนหมุน ในที่นี้คลิกเส้นด้านซ้าย จะสังเกตเห็นเป็นเส้นสีแดงเมื่อถูกเลือก
.


5. จากเมนู Feature เลือกคำสั่ง Revolve Profile หรือ คลิกเครื่องมือ บนแถบเครื่องมือ Feature
6.คลิกปุ่ม OK หรือกดแป้น Enter จะได้รูปทรงดังภาพ
7. คลิกเลือก Select Face ส่วนปากแก้ว เลือกเครื่องมือ Round Edges เพื่อลบเหลี่ยมให้กลมมน
8. คลิกเลือก Select Face เลือกส่วนขาแก้ว เลือกเครื่องมือ Round Edges เพื่อลบเหลี่ยมให้กลมมน

9. กด OK จะได้แก้วดังภาพ

ตัวอย่างแก้วแบบอื่นๆ